กีฬา MMA เป็นกีฬาที่ผสมศาสตร์การต่อสู้นานาชนิดเข้าด้วยกันเพื่อให้นักกีฬาที่ฝึกสามารถนำไปใช้ได้จริงไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันหรือสถานการณ์จริงก็ตาม ในเมื่อเป็นการรวบรวมเอาศิลปะการต่อสู้หลายชนิดมาฝึกสิ่งสำคัญที่สุดก็คือร่างกายของผู้ฝึกเองที่ต้องมีการพัฒนากล้ามเนื้อทุกส่วนให้แข็งแกร่ง ทนทาน พร้อมกับการใช้งานมากที่สุด การฝึกกล้ามเนื้อทุกส่วนอย่างถูกวิธีนอกจากจะช่วยให้นักกีฬามีความพร้อมในการฝึกโปรแกรมหนัก ๆ แล้วยังสามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมและการแข่งขันได้ด้วย
การฝึกด้วยวิธีการ Plyometrics สำหรับนักกีฬา MMA ดีอย่างไร
การฝึกด้วยวิธี Plyometrics คือการฝึกที่มุ่งเน้นการใช้กล้ามเนื้อแบบรุนแรงและหนักหน่วงไปพร้อม ๆ กัน เพราะกีฬา MMA เป็นกีฬาต่อสู้จำเป็นต้องมีการเข้าปะทะกันตลอดเวลาที่แข่งขัน การช่วงชิงจังหวะความได้เปรียบคือการเข้ากระทำที่รวดเร็ว และรุนแรง และผลจากการฝึกแบบนี้จะทำให้สภาพร่างกายและสติของนักกีฬาที่ผ่านการฝึกแบบ Plyometrics แล้วนั้นมีความอึด และทนทานตามไปด้วย
รูปแบบการฝึก จริง ๆ แล้วไม่ได้แตกต่างจากโปรแกรมการฝึกของนักกีฬา MMA เลย เพียงแต่ปรับเปลี่ยนรูปแบบในการฝึกในโปรแกรมให้เร็วและแรงขึ้น โดยใช้กำลังราวร้อยละ 70 – 90 ในการฝึก ยกตัวอย่างเช่น คุณเคยยกน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ให้คุณลดเหลือ 35 – 45 กิโลกรัม แต่ในการยกนั้นให้เพิ่มความเร็ว ใช้ความเร็วสูงสุดแต่จำนวนครั้งเท่าเดิม รวมถึงการเพิ่มโปรแกรมการฝึกที่เน้นการใช้ความเร็วในการฝึกเช่น กระโดดเชือก กระโดดยกเข่าย่อตัว การปั่นจักรยานเร็ว ๆ ซิทอัพ หรือวิดพื้นเร็ว ๆ อย่างนี้เป็นต้น
การเพิ่มแบบฝึกแบบนี้จะทำให้ปอดและหัวใจคุณทำงานเร็วขึ้น สามารถเพิ่มความจุและความแข็งแรงของปอดได้ ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ผลที่เกิดกับร่างกายคือคุณจะฟิตขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว อึดขึ้นหรือเหนื่อยช้าลง สังเกตจากชีพจรที่เต้นช้าลง ในระหว่างการแข่งขันกล้ามเนื้อที่ถูกฝึกให้พร้อมด้วยวิธีการ Plyometrics จะสามารถระเบิดพลังงานได้ดีขึ้น ความรุนแรงในการปะทะก็จะสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
สิ่งที่ควรระวังสำหรับนักกีฬาที่ฝึกด้วยวิธี Plyometrics
กล้ามเนื้อที่ถูกฝึกด้วยวิธี Plyometrics นั้นจะเมื่อยล้ากว่าปกติ ดังนั้นควรเพิ่มแทรกเข้าไปในโปรแกรมปกติอย่างเหมาะสมเช่น ทำเป็นเซตสุดท้ายของโปรแกรม หรือจัดโปรแกรมไว้สัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้งแทรกแทนไปกับโปรแกรมปกติเลย การทดสอบพัฒนาการตรวจสอบได้หลายวิธีประกอบกัน การทดสอบความอึดให้เช็คอัตราการเต้นของชีพจรที่ควรลดต่ำลงไม่เกิน 60 ครั้ง/นาที ความจุปอดที่เพิ่มขึ้น การตรวจสอบประสิทธิภาพกล้ามเนื้อหากแข็งแรงขึ้นจะยกน้ำหนักสูงสุดได้เพิ่มขึ้น และการตรวจสอบประสิทธิภาพกล้ามเนื้อหากมีความเร็วเพิ่มขึ้นจะทำความเร็วสูงสุดต่อนาทีได้จำนวนครั้งมากขึ้น อย่าลืมบันทึกโปรแกรมการฝึก และพัฒนาการของคุณไว้ด้วยเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับเปลี่ยนโปรแกรมการฝึกให้เข้มข้นขึ้นต่อไป
Credit : https://cdn.pixabay.com/photo/2016/02/05/19/23/gym-room-1181824_960_720.jpg